ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับผู้ที่สนใจเข้ามาเยี้ยมชมเว็บบล็อกของนักศึกษาวิชาพื่นฐานงานปูน

หน่วยที่ 3 การก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นเข้ามุมฉากหนึ่งมุม

 การก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นเข้ามุมฉากหนึ่งมุม

1.ลักษณะของงานก่ออิฐ มอญผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุม

2.ความปลอดภัยขณะ ปฏิบัติงาน

3.ขั้นตอนการเตรียมการ งาน

4.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

5.การบ ารุงรักษา ท าความ สะอาด อุปกรณ์

6.ข้อควรระวังในขณะ ปฏิบัติงานก่ออิฐมอญ ผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุมฉาก

เนื้อหาสาระ

1. ลักษณะของงานก่ออิฐมอญผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุมฉาก เป็นการพัฒนาการปฏิบัติงานจากงานก่ออิฐมอญผนังครึ่งแผ่นแบบสลับแนว โดยเป็นการก่ออิฐ ผนังประสานกันให้เกิดมุมฉาก ด้วยการซ้อนสลับก้อน ท าให้ก าแพงอิฐมีความแข็งแรง การซ้อนกันจะ ท าการซ้อนครึ่งแผ่น บางที่ต้องใช้อิฐครึ่งแผ่นมาช่วยเสริมให้อิฐมีโอกาสซ้อนกัน โดยที่รอยต่อทางแนวดิ่ง ไม่ตรงกันในแต่ละชั้น สลับกันไป นักเรียนฝึกหัดจะได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนจะรู้วิธีการวัดมุม การใช้ เครื่องมือ การบ ารุงรักษาเครื่องมือ และการสร้างวินัยในการท างานด้วยการท างานร่วมกับผู้อื่นจัดเก็บท า ความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ปฏิบัติงาน สร้างจิตส านักที่ดีต่อการท างาน การก่ออิฐมอญผนังหนึ่งมุมฉากจะเป็นลักษณะงานต่อเติมตัวอาคาร ซึ่งร่วมกับผนังอาคารที่มีอยู่ เดิม เพื่อท ากระถางต้นไม้ตกแต่งมุมสวนหย่อมของอาคาร เพื่อเกิดความสวยงามกับอาคารหลัก วัสดุ ที่ใช้ในการก่อส่วนใหญ่จะอิฐมอญ เมื่อก่อแล้วก็ฉาบทับภายหลัง หรือตกแต่งลวดลายให้สวยงามด้วย การทาสีทับอีกครั้ง 

2. ความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานและการป้องกัน 2.1 การใช้เครื่องมือจะต้องระวังเพื่อนร่วมงานบริเวณรอบ ๆ พื้นที่ปฏิบัติงาน อาจถูก เครื่องมือโดยมิได้ตั้งใจจนเกิดอันตราย 2.2 การยกวัสดุเกินก าลัง ควรยืนให้มั่นคงแล้ววัสดุหนัก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 2.3 อย่าให้ส่วนใดของร่างกายแช่อยู่กับปูนขาว หรือปูนก่อไลม์มอร์ตา นานเกินไป จะท าให้ เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง ควรใส่รองเท้ายาง ถุงมือยางเพื่อป้องกัน 2.4 ตั้งใจท างานและไม่ประมาทโดยรักษาตนเองให้ปลอดภัยไว้เสมอ 2.5 ต้องระวังปลายเกรียงเหล็กจะบิ่นได้ง่าย ถ้าใช้งัดหรือกดจนเกินก าลัง

3. ขั้นตอนการเตรียมงานก่ออิฐมอญผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุมฉาก


3.1 ศึกษาท าความเข้าใจแบบการก่ออิฐจากแบบแปลนชั้นที่ 1,3,5,7,9 แสดงการวางก้อน อิฐมอญเป็นแนวๆ ละ 4 ก้อน ก่ออิฐชนเป็นมุมฉาก (90 องศา) ขณะเดียวกันแปลนชั้นที่ 2,4,6,8,10 แสดงการก่ออิฐเป็นแนวตรงสองแนวก่อชนเป็นมุมฉาก โดยชั้นที่ 2,4,6,8,10 ก่อแนวผนังด้าน B ใช้ ก่อนอิฐ 4 ก่อนครึ่ง ส่วนผนังด้าน A ก่อชนเป็นมุมฉากใช้ก้อนอิฐ 4 ก้อนครึ่ง

3.2 ศึกษาจากรูปไอโซเมตริก สามารถค านวณจ านวนก้อนอิฐที่ใช้ได้แสดงให้เห็นแนวปูนก่อ แนวดิ่งจะไม่ตรงกันในชั้นที่ 1 และ 2 แนว ปูนก่อในแนวนอนจะมีความหนาเท่ากับแนวดิ่งความหนา ประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร ผนังก่ออิฐมอญส่วนที่เป็นมุมฉาก แสดงให้เห็นถึงการก่ออิฐมอญทับซ้อน สลับกันโดยใช้อิฐเต็มก้อน

3.3 เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือใช้ในการก่ออิฐ 3.3.1 เกรียงเหล็กขนาดกลาง 3.3.2 กระป๋องปูน 3.3.3 ถังเปลขนาดใหญ่ 3.3.4 ระดับน้ าอลูมิเนียม 3.3.5 ฉากใหญ่ 3.3.6 ตลับเมตร 3.3.7 ลูกดิ่ง พร้อมสายเอ็น 3.3.8 สายเอ็น พร้อมตะปูขนาด 2 นิ้ว 3.3.9 ดินสอด าช่าง 3.3.10 ไม้บรรทัดปาดปูน 3.3.11 ไม้กวาดอ่อน 3.3.12 ไม้กวาดทางมะพร้าว

3.4 เตรียมอิฐมอญตามจ านวนที่ค านวณไว้ (อิฐมอญเต็มก้อน 75 ก้อนครึ่งก้อน 10 ก้อน) พร้อมอิฐมอญครึ่งก้อนที่เตรียมไว้มีขนาดใกล้เคียงกัน อิฐมอญเผาสุกดี มีเนื้อแกร่ง ไม่ช ารุด น ามาใส่ รวมกันในถังเปลขนาดใหญ่ ใส่น้ าให้ท้วมอิฐมอญทิ้งไว้สักครูจนหมดฟองอากาศแสดงว่า อิฐมอญอิ่มน้ า จึงน าขึ้นมากองไว้ให้สะเด็ดน้ าใกล้ที่ท างาน

3.5 ท าความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยใช้ไม่กวาดอ่อน หรือไม้กวาดทางมะพร้าว กวาด เศษใบไม้ ทราย ฝุ่นละออง ออกจากบริเวณดังกล่าวให้หมด

3.6 วางผังการท างาน น าไม้บรรทัดปาดปูนตัวยาว วางบนพื้นตรงต าแหน่งที่จะท าการ ก่อ อิฐ ใช้ดินสอด าช่างขีดเส้นตามขอบไม้บรรทัดปาดปูนลงบนพื้นเพื่อเป็นแนวในการก่ออิฐใช้ดินสอด าช่าง ขีดเส้นตามไม้บรรทัดปาดปูนตัวยาวที่พื้นให้เห็นชัดเจน 

3.7 น าฉากใหญ่มาวาง ให้ติดกับพื้นที่ขอบนอกของฉากใหญ่ชิดแนวเส้นดินสอด าที่ขีดไว้ก่อนที่ พื้นด้านหนึ่ง ใช้ดินสอด าช่างขีดเส้นตามขอบนอกของฉากอีกด้าน เส้นที่ขีดเป็นมุมฉากที่พื้น น าฉาก ใหญ่ออกจากจุดที่วางผังห่างพอประมาณ น าไม้บรรทัดปาดปูนมาทาบตามเส้นดินสอที่ขีดไว้เดิมใช้ดินสอ ด าช่างขีดเส้นต่อจากเส้นฉากให้มีความยาวตลอดไม้บรรทัดปาดปูน 

3.8 น าอิฐมอญที่วางกองไว้ให้สะเด็ดน้ ามาวางเรียงตามแนวเส้นดินสอด าช่างโดยใช้ตลับเมตร วัดระยะห่างก่อนอิฐมอญแต่ละก้อนละ 1 – 1.5 เซนติเมตร วางเรียงให้ครบตามรูปแปลนชั้นที่ 1 ใช้ ดินสอด าช่างขีดเส้นที่หัวอิฐทั้งด้าน A และ ด้าน B เพื่อก าหนดความกว้างของผนัง ที่จะก่อทั้ง 2 ด้าน ใช้ตลับเมตรตรวจสอบขนาดอีกครั้ง เพื่อความถูกต้องตามแบบที่ก าหนด

3.9 ตักปูนจากบ่อหมักปูนไลม์มอร์ตา ผสมกับน้ าในกระป๋องปูนจนได้ปูนก่อที่มีความ เหนียวพอประมาณในการก่อ 

3.10 จากแบบก าหนดให้ก่อชั้นละ 8 ก้อน ความสูง 10 ชั้น ใช้อิฐมอญเต็มก้อน 75 ก้อน อิฐ มอญครึ่งก้อน 10 ก้อน

4. ขั้นตอนปฏิบัติงานก่ออิฐมอญผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุมฉาก

4.1 เริ่มปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่ 1 ชั้นที่ 1 ด้าน A ตรงมุมฉากก่อน ใช้เกรียงเหล็กผสม ปูนในกระป๋องปูนให้เขากันแล้วตักปูนก่อจากกระป๋องปูนขึ้นให้เต็มใบเกรียงเหล็กหยิบอิฐมอญก้อนที่ 1 ตะแคงข้างขึ้น วางปูนก่อจากเกรียงเหล็กลงบนพื้นแทนต าแหน่งของก้อนอิฐมอญก้อนที่ 1 และใช้อิฐ มอญที่ตะแคง ท าหน้าที่ช่วยกั้นปูนก่อให้ตกลงบนพื้นตามที่ก าหนด 

4.2 ตะแครงใบเกรียงเหล็กและอิฐมอญก้อนที่ 1 เข้าหากันเพื่อประกบ และปาดปูนก่อเป็นรูป สามเหลี่ยมใช้เกรียงเหล็กปาดแต่งอีกเล็กน้อย จากนั้นวางก้อนอิฐมอญบนปูนก่อ ให้หัวอิฐและข้างอิฐ มอญขนานกับเส้นดินสอด าช่างประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือประมาณความหนาของใบเกรียงเหล็ก 

4.3 ถ้าอิฐไม่ได้ระดับให้เคาะด้วยเกรียงเหล็กค่อย ๆ เคาะเบา ๆ บนหลังก้อนอิฐมอญจนได้ ระดับ 

4.4 ใช้ใบเกรียงเหล็กสอดตักปูนที่ทะลักออกมาข้างก้อนอิฐมอญด้านหน้าและด้านหัวอิฐมอญ ที่ขีดเส้นก าหนดแนวไว้ออกส่วนด้านหลังคงไว้เพื่อช่วยจับยึดอิฐมอญ เอาออกภายหลังเมื่อใกล้เสร็จงาน

4.5 ใช้ตลับเมตรวัดความสูงจากพื้นถึงหลังก้อนอิฐ ทางด้านหัวและท้ายได้ความสูงเท่ากัน รวมถึงความหนาของแนวปูนก่อ 1 – 1.5 เซนติเมตร

4.6 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่ 2 ของชั้นที่ 1 ด้าน A ให้ต่อท้ายอิฐมอญก้อนที่ 1 ขยับ อิฐ มอญก้อนที่ 3 ให้ออกจากต าแหน่งเดิมที่วางเรียงไว้ประมาณ 20 เซนติเมตร ใช้เกรียงเหล็กผสมปูนก่อใน กระป๋องปูนให้ผสมเข้ากัน จากนั้นตักปูนก่อเต็มใบเกรียงเหล็กขึ้นมา พร้อมทั้งหยิบก้อนอิฐก้อนที่ 2 มา ตะแคงให้ต่อท้ายอิฐมอญก้อนที่ก่อไว้แล้ว

4.7 ตะแคงอิฐมอญก้อนที่ 2 และใบเกรียงเหล็กเข้าหากัน ปาดปูนก่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมแนว ยาวเหมือนการก่ออิฐมอญก้อนที่ 1 ใช้อิฐมอญก้อนที่ 2 วางบนปูนในลักษณะให้หัวอิฐมอญสไลด์ปาด ยอดแหลมของปูนก่อไปตามแนวยาวเพื่อให้เนื้อปูนก่อติดหัวอิฐมอญก้อนที่ 2 ไปชนกับท้ายอิฐมอญก้อน ที่ 1 ระยะห่างกัน 1 – 1.5 เซนติเมตร ซึ่งจะท าให้ไม่เสียเวลาเติมปูนก่อที่แนวหัวก้อนอิฐอีกครั้ง ใช้ด้าม เกรียงเหล็กเคาะหัวท้ายก้อนอิฐให้ได้ระดับเสมอกัน

4.8 ตักปูนที่ทะลักออกมาให้อยู่บนใบเกรียงเหล็ก แล้วใส่กระป๋องปูน ถ้ารอยต่อของหัวอิฐมอญ ก้อนที่ 1 และ 2 ปูนก่อยังไม่เต็มก็ให้เติมปูนก่อลงไป แล้วใช้ใบเกรียงเหล็กลูปไปมา บนก้อนอิฐมอญตรง รอยต่อ เพื่อกดปูนให้เรียบ และเป็นการตรวจเช็คว่าอิฐมอญทั้งสองก้อนเรียบเสมอกันได้ระดับ

4.9 ปรับอิฐมอญก้อนที่ 2 อีกครั้ง โดยใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะซ้ายขวาเบา ๆ ให้ก่อนอิฐมอญ อยู่ห่างจากเส้นดินสอที่ขีดเป็นแนวไว้ประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือประมาณความหนาของใบเกรียงเหล็ก

4.10 ตรวจสอบระดับหลังก้อนอิฐมอญ โดยใช้ระดับน้ าอลูมิเนียมวางบนหลังอิฐมอญก้อนที่ 1 และก้อนที่ 2 ดูฟองระดับน้ า เมื่อฟองน้ าอยู่ตรงกลางหลอดระดับแสดงว่าใช้ได้ ระดับถูกต้อง

4.11 ใช้ตลับวัดความสูงจากพื้นถึงหลังอิฐมอญทั้งสองก้อน เพื่อเช็คความสูงตรงต าแหน่ง

4.12 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่เหลือคือ 3 , 4 ตามล าดับในลักษณะเช่นเดียวกับการก่ออิฐ มอญก้อนที่ 1 และก้อนที่ 2 จนได้ผนังอิฐมอญครึ่งแผ่นชั้นที่ 1 ตามแปลนชั้นที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ส่วนผนังด้านที่ B ก็ก่ออิฐมอญให้เป็นมุมฉากโดยให้หัวอิฐมอญ และปูนก่อชนทางด้านข้างของอิฐมอญ ก้อนที่ 1 และผนังด้านที่ A ให้ด้านนอกของอิฐมอญเป็นแนวเดียวกับแนวเส้นดินสอด าช่างที่ขีดเอาไว้ ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนต่อไปทีละก้อนในลักษณะเดียวกันจนได้ผนังอิฐมอญชั้นที่ 1 ด้านที่ B ครบ ตามรูปแบบของการก่ออิฐมอญตามแปลนชั้นที่ 1 

4.13 ตรวจสอบความเที่ยงตรงของผนังที่ก่ออิฐมอญชั้นที่ 1 ของก าแพงด้านที่ A อีกครั้ง โดยใช้ไม้บรรทัดปาดปูนตัวยาว มาวางทาบบนพื้นด้านหน้าติดกับผนังที่ก่อชั้นที่ 1 สังเกตถ้ามีก้อนอิฐ มอญก้อนไหนอยู่ห่างขอบไม้บรรทัดปาดปูนให้ใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะเบาๆ ให้อยู่ในแนวเดียวกันเป็น แนวตรงตลอด

4.14 น าฉากใหญ่มาตรวจสอบมุมฉากของผนังทั้ง 2 ด้านที่มาบรรจบกัน โดยน าฉากใหญ่มา วางชนด้านนอกของผนังก่ออิฐมอญดังกล่าว ซึ่งจะได้มุมฉากพอดีกับมุมในของฉากใหญ่แสดงว่าผนัง ก่อ อิฐมอญทั้งสองด้านได้มุมฉาก 

4.15 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่ 1 ของชั้นที่ 2 โดยเริ่มตรงต าแหน่งที่เป็นมุมฉากก่อน ทดลองวางก้อนอิฐมอญก้อนที่ 1 ในชั้นที่ 2 ให้หัวอิฐมอญวางทับหัวอิฐมอญก้อนที่ 1 ของชั้นที่ 1 ด้าน A ต าแหน่งที่เป็นมุมฉาก แต่อยู่คนละชั้นกับอิฐมอญก้อนที่ 1 ชั้นที่ 1 ให้แนวปูนก่อสลับกันครึ่งก้อน ทดลองวางอิฐมอญก้อนที่ 2 ในชั้นที่ 2 ด้าน A ให้ท ามุมฉากกับอิฐมอญก้อนที่ 1 ใน ชั้นที่ 2 ให้แนว ปูนก่อสลับกันครึ่งก้อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วใช้เกรียงเหล็กผสมปูนก่อผสมให้เข้ากัน ตักปูนก่อให้เต็ม ใบเกรียงจากกระป๋องปูน หยิบก่อนอิฐมอญก้อนที่วางไว้ในต าแหน่งดังกล่าวตะแคงขึ้น วางปูนก่อลงใน ต าแหน่งเดิม 

4.16 ตะแคงใบเกรียงเหล็กและก้อนอิฐมอญก้อนดังกล่าวเข้าหากันเป็นมุมแหลมประกบปาด ปูนให้เป็นรูปสามเหลี่ยมแนวยาวตามแนวก าแพง ใช้ใบเกรียงเหล็กตกแต่งเล็กน้อยให้ปูนก่อเรียบวาง ก้อนอิฐมอญลงบนปูนก่อ ให้หัวอิฐมอญและขอบด้านนอกเสมอกันกับขอบด้านนอกของอิฐมอญชั้นที่ 1 ใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะเบาๆ หลังก้อนอิฐมอญด้านหัว และด้านท้ายจนได้ระดับ แล้วตักปูนก่อที่ทะลัก ออกด้วยใบเกรียงเหล็ก 

4.17 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่ทดลองวางไว้ให้เป็นมุมฉากในชั้นที่ 2 ด้าน A ใช้เกรียง เหล็กผสมปูนก่อในกระป๋องปูน ตักให้เต็มใบเกรียง หยิบอิฐมอญก้อนดังกล่าวตะแคงขึ้น วางปูนก่อลง แทนที่ต าแหน่งอิฐมอญ โดยตะแคงใบเกรียงเหล็กและก้อนอิฐมอญเข้าหากันเป็นมุมแหลม ประกบปาด ปูนก่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมวางอิฐมอญลงบนปูนก่อโดยสไลด์ให้หัวอิฐมอญปาดยอดแหลมของปูนก่อชน กับข้างอิฐมอญก้อนที่ก่อไว้แล้วห่างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร ใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะอิฐมอญด้าน หัวและด้านท้ายจนได้ระดับ ตรวจสอบความสูงด้วยตลับเมตรของอิฐมอญทั้งสองก้อนความสูงจากพื้น ถึงหลังก้อนอิฐมอญทั้งสองก้อนต้องสูงเท่ากัน ตามแบบก าหนดทั้งทางด้านหัวและท้ายของก่อนอิฐมอญ

4.18 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญก้อนที่ 1 ของชั้นที่ 3 ซึ่งต าแหน่งของอิฐมอญก้อนดังกล่าวจะอยู่ ตรงกับอิฐมอญก้อนที่ 1 ชั้นที่ 1 ด้าน A โดยมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเช่นเดียวกันที่กล่าวมาข้างต้น

4.19 ในการปฏิบัติงานถ้าก่ออิฐได้ 1-3 ชั้นใช้ฉากใหญ่ จับแนวดิ่งของผนังได้จะสะดวกกว่าการ ใช้ลูกดิ่งเพราะระยะดิ่งสั้นเกินไป หรือใช้ระดับน้ าอลูมิเนียม จับหาแนวดิ่งก็ได้เช่นกัน ถ้าอิฐมอญก้อนใด ไม่เสมอแนวดิ่งให้ใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะเบาๆ ด้านตรงข้ามจนกระทั้งได้แนวดิ่งทุกก้อน

4.20 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญตรงปลายผนังด้านที่ 1 ในชั้นที่ 2 ด้าน A โดยทดลองวางอิฐมอญ ครึ่งก้อนบนอิฐมอญตรงปลายผนังชั้นที่ 1 ด้าน A และวางอิฐมอญเต็มก้อนจากอิฐมอญครึ่งก้อน เว้น ระยะแนวปูนก่อประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ตรวจดูแนวปูนก่อต้องอยู่ตรงกึ่งกลางของความยาวของอิฐ มอญก้อนที่ 4 ชั้นที่ 1 ด้าน A 

4.21 ใช้เกรียงเหล็กผสมปูนในกระป๋องปูนให้ผสมเข้ากันตักปูนให้เต็มใบเกรียงเหล็กจาก กระป๋องปูน หยิบอิฐมอญครึ่งก้อนตะแคงขึ้น วางปูนก่อลงปูนหลังอิฐมอญแทนต าแหน่งก้อนอิฐมอญครึ่ง ก้อน 

4.22 ตะแคงใบเกรียงเหล็ก และอิฐมอญครึ่งก้อนเข้าหากัน ประกบเป็นรูปสามเหลี่ยมปาดปูน ก่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยมตามแนวยาวของก้อนอิฐมอญ ใช้เกรียงเหล็กตกแต่งเล็กน้อยวางก้อนอิฐมอญ ครึ่งก้อนบนปูนก่อ ให้อิฐมอญครึ่งก้อนซ้อนอยู่บนอิฐมอญก้อนที่ 4 ของชั้นที่ 1 ด้าน A ใช้ด้ามเกรียง เหล็กเคาะเบาๆ ให้ได้ระดับและความสูงตามแบบก าหนด 

4.23 ตักปูนที่ทะลักออกมาออกด้วยใบเกรียงเหล็ก ด้านหัว ด้านหน้าและหลังของก้อน อิฐมอญครึ่งก้อนส่วนด้านท้ายไม่ต้องตักเพราะจะท าการก่ออิฐมอญก้อนต่อไป 

4.24 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญเต็มก้อนให้ต่อกับอิฐครึ่งก้อนใช้ใบเกรียงเหล็กผสมปูนในกระป๋อง ปูนให้เข้ากันดี ตักปูนให้เต็มใบเกรียงเหล็ก หยิบอิฐมอญขึ้นมาหนึ่งก้อนน ามาตะแคง เพื่อ กันปูนก่อ บริเวณท้ายอิฐมอญครึ่งก้อนที่ก่อไว้แล้ววางปูนก่อลงบนหลังก้อนอิฐมอญชั้นที่ 1 ด้าน A 

4.25 ตะแคงใบเกรียงเหล็ก และอิฐมอญ ปาดปูนก่อให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้ใบเกรียงเหล็ก ตกแต่งให้เรียบเล็กน้อย 

4.26 วางก้อนอิฐมอญเต็มก้อนลงบนปูนก่อให้หัวอิฐมอญในมือ สไลด์ปาดยอดแหลมของปูนก่อ ไปตามแนวยาว เพื่อให้เนื้อปูนก่อไปชนท้ายก้อนอิฐมอญครึ่งก้อนที่ก่อไว้ โดยให้มีระยะห่างของก้อนอิฐ มอญประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ซึ่งจะท าให้ไม่เสียเวลาในการเติมปูนก่อที่แนวหัวก้อนอิฐมอญอีก ใช้ ด้ามเกรียงเหล็กเคาะเบา ๆ หัวและท้ายก้อนอิฐมอญเพื่อให้ได้ระดับ 

4.27 ตรวจสอบระดับอีกครั้งด้วยการใช้ระดับน้ าอลูมิเนียม และความสูงด้วยตลับเมตร 4.28 ใช้ใบเกรียงเหล็กปานปูนที่ทะลักให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน

4.29 ปฏิบัติงานก่ออิฐมอญชั้นที่ 3 ต าแหน่งอิฐมอญจะซ้อนอยู่ตรงกับต าแหน่งของ อิฐมอญก้อนที่ 1 แนวปูนก่อก็ตรงกันด้วย น าอิฐมอญเต็มก้อนมาตะแครงตรงขอบของอิฐมอญครึ่งก้อนที่ ก่อไว้แล้วในชั้นที่ 2 ใช้เกรียงเหล็กผสมปูนก่อในกระป๋องปูนให้ผสมกันดี ตักปูนก่อเต็มใบเกรียง เทปูนก่อ ลงบนหลังอิฐมอญครึ่งก้อนและเต็มก้อนที่ก่อไว้ในชั้นที่ 2 ใช้ก้อนอิฐมอญ และเกรียงเหล็กปาดปูนก่อให้ เป็นรูปสามเหลี่ยมตกแต่งปูนก่อให้เรียบเล็กน้อยด้วยเกรียงเหล็ก 

4.30 วางก้อนอิฐมอญลงบนปูนก่อ ให้ตรงกับอิฐมอญที่ก่ออยู่ข้างล่างในชั้นที่ 2 ใช้ด้ามเกรียง เหล็กเคาะหลังก้อนอิฐมอญเบาๆ จนได้ระดับ ตักปูนก่อที่ทะลักออกมารอบอิฐมอญใบเกรียงเหล็กน าเศษ ปูนก่อใส่กระป๋องปูนไว้ใช้งานต่อไป

4.31 การตรวจแนวดิ่งใช้เครื่องมือได้หลายอย่าง ในชั้นความสูงไม่เกิน 5 ชั้น ควรใช้ฉากใหญ่ใน การหาแนวดิ่งได้ โดยการวัดมุมฉากผนังอิฐมอญกับพื้นที่ท าการก่อ ถ้าความสูงของผนังสูงเกิน 5 ชั้นขึ้น ไป ควรใช้ลูกดิ่ง ท าการดิ่งหาระดับแนวดิ่งหรือใช้ระดับน้ าอลูมิเนียมตรวจสอบระดับแนวดิ่งก็ได

4.32 ใช้ตลับเมตร วัดความสูงจากพื้นขึ้นมาถึงหลังอิฐมอญ ต้องมีระยะความสูงเท่ากันตรง ส่วนที่ก่อเป็นมุมฉากและส่วนปลายของผนัง

4.33 ปฏิบัติการก่ออิฐเป็นขั้นบันไดตรงส่วนปลายของผนังอีกด้านในลักษณะเดียวกันจน ได้งานก่ออิฐมอญผนังในลักษณะขั้นบันไดทั้ง 3 ด้านตามที่ต้องการ

4.34 ปฏิบัติการขึงสายเอ็นที่ผูกติดกับตะปูขนาด 2 นิ้ว จ านวน 2 เส้น กับก าแพงที่ก่อ อิฐมอญด้าน A และด้าน B เพื่อเป็นแนวในการก่ออิฐ

4.35 ปฏิบัติงานก่ออิฐมอญในชั้นที่ 2 ต่อจากอิฐมอญที่ก่อไว้แล้วให้ขนานกับสายเอ็นที่ขึงไว้ เป็นแนวระดับจนครบจ านวนก้อนอิฐในชั้นที่ 2 และครบจ านวน 2 ด้าน

4.36 ย้ายสายเอ็นจากชั้นที่ 2 มาอยู่ชั้นที่ 3 ในลักษณะเดียวกัน ถ้าอิฐมอญที่อยู่ปลายผนังก่อ ไว้ก่อนเดียวให้ก่อเพิ่มอีก 1 ก้อน ในลักษณะเดียวกันกับการก่อในครั้งที่ผ่านมา เพื่อช่วยยันก้อนอิฐที่อยู่ ตรงส่วนปลายทั้งสองด้าน ไม่ให้หลุดออกมาจะได้ขึงสายเอ็นได้ตึงตามต้องการ 

4.37 ปฏิบัติการก่ออิฐมอญในชั้นที่เหลือคือ 4,5,6,7,8,9 และ10 ในลักษณะเดียวกัน ตรวจเช็คความสูงของแต่ละชั้นด้วยตลับเมตรตรงส่วนปลายของผนังอิฐมอญ และตรงกลางที่เป็นมุม ฉาก ตรวจสอบแนวดิ่งด้วยการใช้ลูกดิ่ง หรือระดับน้ าอลูมิเนียมทาบที่ผนังดูฟองอากาศให้ได้ระดับตรง กลาง ใช้ด้ามเกรียงเหล็กเคาะตกแต่งส่วนเกิน หรือก้อนอิฐที่ล้นจากแนวระดับ เก็บเศษปูนก่อที่ทะลัก ออกมาให้เรียบร้อย จนงานก่ออิฐผนังหนึ่งมุมฉากเสร็จสมบูรณ์ 

5. การบ ารุงรักษาท าความสะอาด อุปกรณ์ เครื่องมือ สถานที่ปฏิบัติงาน งานก่ออิฐเป็นงานที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวัสดุ และปูนก่อ ซึ่งมีความเปียกชื้น ท าให้ เครื่องมือสกปรก ตั้งหมั่นดูแล รักษาความสะอาด และถ้าเป็นปูนก่อที่ผสมด้วยปูนซีเมนต์ (ซีเมนต์มอร์ตา) เมื่อแห้งจะติดแน่นกับเครื่องมืองานปูนท าให้ท าความสะอาดได้ยาก ดังนั้น ในการ บ ารุงรักษา และท าความสะอาดจึงควรปฏิบัติ ดังนี้ 

5.1 เกรียงเหล็ก กระป๋องปูน จอบ พลั่ว กระบะผสมปูน เมื่อเลิกใช้งานต้องล้างด้วยน้ า สะอาดทันที 

5.2 ตลับเมตร ดินสอด าช่าง ระดับน้ าอลูมิเนียม ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง จัดเก็บให้ดี เมื่อเลิกใช้งาน และท าความสะอาดด้วยผ้าแห้งจุ่มน้ าและเช็ดให้ทั่ว 

5.3 นักเรียนฝึกหัดก่ออิฐจะใช้ปูนก่อไลม์มอร์ตาในการก่อ เมื่อครูผู้สอนตรวจผลงานแล้ว ต้องจัดเก็บก้อนอิฐมอญ พร้อมทั้งท าความสะอาดด้วยการขุดเศษปูนก่อด้วยเกรียงเหล็กให้สะอาด ก่อน น าไปเรียงไว้ในกองเก็บวัสดุ เพื่อความสะดวกในการน ามาใช้ฝึกใหม่ การเก็บชิ้นงานต้องท าทีละชั้น ไม่ใช่พลังทลายเลยครั้งเดียวจะท าให้เกิดการแตกหักของอิฐมอญได้ 

5.4 จัดเก็บปูนก่อน าใส่ในบ่อหมักปูน ท าความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาดด้วย ไม้ กวาดทางมะพร้าว หรือไม้กวาดดอกหญ้า

6. ข้อควรระวังในขณะปฏิบัติงานก่ออิฐมอญผนังครึ่งแผ่นหนึ่งมุมฉาก 

6.1 เครื่องมืองานปูน เช่น กระป๋องปูน เกรียงเหล็ก ก่อนใช้ควรให้เครื่องมือเปียกน้ าเสียก่อน เพื่อปูนก่อจะได้ไม่จับติดเครื่องมือ และท าความสะอาดทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน 

6.2 ควรตรวจเช็คระยะความสูงของผนังก่ออิฐมอญเสมอ ๆ เพื่อความถูกต้อง 

6.3 ฝึกนิสัยรักษาความสะอาด ชิ้นงาน เครื่องมือ สถานที่ท างาน รวมทั้งการจัดเก็บเครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย บ ารุงรักษาเครื่องมือให้ใช้งานได้เสมอ 

6.4 เมื่อท าความสะอาดพื้นจะมีฝุ่นละอองจากปูนขาวและทราย จึงควรพรมน้ าให้ทั่วก่อน ท าการกวาดด้วยไม้ไม่กวาดทางมะพร้าว เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง 

6.5 การใช้ฉากใหญ่ควรใช้ด้วยความระมัดระวังไม่ควรให้หล่นลงพื้นจะท าให้ฉากคดงอเสียหาย ได้ 

สรุป 

งานก่ออิฐมอญผนังหนึ่งมุมฉาก เป็นการพัฒนาการก่อผนังให้เกิดมุมฉากหนึ่งมุมและเป็นการ ประสานก้อนอิฐมอญกันครึ่งก้อนตรงมุมฉาก ท าให้นักเรียนเกิดทักษะในการวัดมุมฉาก และการก่อ อิฐมอญได้ตามหลักการวิธีการ เทคนิคการค านวณการใช้ปริมาณวัสดุ ความปลอดภัยในขณะก าลัง ปฏิบัติงาน สามารถน าไปปฏิบัติงานจริงได






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น